เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธึ สาวกสงฺฆโต ก็คือ สทฺธึ
สาวกสงฺเฆน
ความว่า พร้อมทั้งสงฆ์สาวก. บทว่า ปรินิพฺพิสฺสํ ก็คือ
ปรินิพพายิสฺสามิ แปลว่า จักปรินิพพาน. บทว่า อคฺคีวาหาร สงฺขยา
ก็คือ อคฺคิ วิย อินฺธนกฺขเยน ดุจไฟดับเพราะสิ้นเชื้อฉะนั้น ความว่า
แม้เราไม่มีอุปาทาน ก็จักปรินิพพานเหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับฉะนั้น
บทว่า ตานิ จ อตุลเตชานิ ความว่า คู่พระอัครสาวกเป็นต้น
ที่มีเดชไม่มีผู้เสมอเหมือนเหล่านั้น. บทว่า อิมานิ จ ทสพลานิ ความว่า
ทศพลที่มีในพระสรีระเหล่านั้น. บทว่า คุณธารโณ เทโห ความว่า และ
พระวรกายที่ทรงคุณมีพระอสาธารณญาณ 6 เป็นต้นนี้. บทว่า ตมนฺตรหิสฺ-
สนฺติ
ความว่า คุณลักษณะดังกล่าวมานี้ จักอันตรธาน สูญหายไปสิ้น ศัพท์
ว่า นนุ ในคำว่า นนุ ริตฺตา สพฺพสงฺขารา นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
อนุมัติคล้อยตาม. บทว่า ริตฺตา ได้แก่ ชื่อว่าเปล่า เพราะเว้นจากสาระคือ
เที่ยง สาระคือยั่งยืน ก็ทั้งหมดนั่นแล อันปัจจัยปรุงแต่ง มีอันสิ้นไปเป็นธรรมดา
เสื่อมไปเป็นธรรมดา คลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา ชื่อว่าไม่เที่ยง
เพราะมีแล้วไม่มี. ชื่อว่าทุกข์ เพราะอันความเกิดเป็นต้นบีบคั้นแล้ว ชื่อว่า
อนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงยกไตรลักษณ์
ลงในสังขารทั้งหลายแล้วเจริญวิปัสสนา จงบรรลุพระนิพพานที่ไม่ตาย ปัจจัย
ปรุงแต่งไม่ได้ ไม่จุติ นี้เป็นอนุศาสนี เป็นคำสั่งสอนของเรา สำหรับท่าน
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด.
ได้ยินว่า ในเวลาจบเทศนา จิตของเทวดาแสนโกฏิก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่นส่วนเทวดาที่ตั้งอยู่ในมรรคผลนอกนั้น เกินที่จะนับจำนวนได้.